เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2567 สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
จัดงานเสวนาเรื่อง “ประสิทธิภาพประสิทธิผลในการบริหารจัดการศึกษาให้เด็กไทยทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก” ณ ห้อง 201 อาคาร ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาคือ
- ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ ประธานกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)
- นายเสน่ห์ ขาวโต อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
- ดร.ดนัย เทียนพุฒ นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ
- ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดีบีซี กรุ๊ป จำกัด
- อาจารย์ชาตรี ลดาลลิตสกุล หัวหน้าทีมออกแบบอาคารรัฐสภา ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์
- ดร.วีระ แข็งกสิการ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
- ผศ.ดร.ผดุง พรมมูล ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
- ดร.สมใจ วิเศษทักษิณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายสมเกียรติ ผ่องจิต ผู้อำนวยการโรงเรียนโยธินบูรณะ
10.นางสาวนงกรานต์ บรรเจิดธีรกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมดุสิตาราม
11.ผศ.พิชญ์สินี พุทธิทวีศรี อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
12.ผศ.ดร.ศุภศิริ บุญประเวศ ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสาร
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จากการจัดกิจกรรมเสวนาในครั้งที่ผ่านมา (22 เมษายน 2567) ได้มีข้อเสนอแนะและข้อสรุป ให้ ยุบกระทรวงศึกษาธิการ ด้วย “การปรับเปลี่ยนบทบาทของกระทรวงฯ” ให้ 1) การมุ่งเน้นการให้บริการ 2) ลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึง 3) ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหาร เพื่อให้สามารถบริหารจัดการองค์กรให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนที่จัดการศึกษา ปัญหาที่เกิดขึ้นอีกประการหนึ่งคือ การเชื่อมโยงการศึกษาซึ่งปัจจุบันขาดองค์กรด้านนี้ทำให้พบว่าต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ อาจมีการตั้งสำนักงานภาค สภาการศึกษาจังหวัด “การสร้าง และขับเคลื่อนแนวทางต่างๆร่วมกัน” เพื่อให้ผู้เรียนที่อยากเรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนเองต้องการ รวมทั้งต้องหาแนวทางต่างๆเพื่อ “ลดภาระของผู้ปกครอง/ครู” โดยการเสวนาในวันนี้ (28 พฤษภาคม 2567) ได้มีการต่อยอดแนวคิดดังกล่าวสู่การเสวนาเพื่อนำไปสู่ประสิทธิภาพประสิทธิผลในการบริหารจัดการศึกษาให้เด็กไทยทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยมีแนวทางคือ
1.ด้านโครงสร้างการบริหารจัดการ
1.1ออกแบบ/ปรับปรุงโครงสร้างเพื่อให้คนในพื้นที่ได้เห็นว่า การศึกษาเป็นเรื่องที่สำคัญ
1.2สร้าง “สถาบันการบริหารหลักสูตรและจัดการเรียนรู้”ให้มุ่งเน้นการสอน “วิธีการคิด” และ “การคิดเชิงตรรกะ” (Logic) ให้มากขึ้น
2.ด้านการออกแบบการเรียนรู้
2.1ประยุกต์แนวทางทางธุรกิจสู่การพัฒนาคนทางการศึกษา เรียนรู้แนวทางการพัฒนาคนจากภาคธุรกิจเพื่อนำมาสู่การพัฒนาการศึกษาด้วยแนวทางที่หลากหลาย
2.2ทบทวนสมรรถนะที่ต้องมีในผู้เรียนปัจจุบันเพื่อให้สามารถพัฒนาคนสู่การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างแท้จริง
2.3ออกแบบการเรียนรู้/พัฒนาผู้เรียนเฉพาะทางให้เหมาะสมกับผู้เรียนรายบุคคล
2.4สร้างความร่วมมือ ของผู้ปกครอง ครู นักเรียน ถ้าผู้ปกครองมองเห็นเป้าหมายชัด
2.5การประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน ควรใช้นวัตกรรม/ผลงานของผู้เรียนเป็นหลัก
3.ด้านการบริหารงานบุคคล
3.1พัฒนาครูให้สามารถโลกที่เปลี่ยนแปลง ครูต้องสามารถจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
3.2การขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น ควรใช้ผลงานของผู้เรียนเป็นหลัก มากกว่าการทำเอกสารต่างๆ
3.3การจูงใจคนเก่งเข้าสู่วิชาชีพครู ซึ่งต้องการพื้นที่ในการได้คิดได้ทำในแนวทางให้เหมาะสม
บทสรุป (Conclusion)
การบริหารจัดการศึกษาให้เด็กไทยทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกต้องเริ่มจากการทบทวนสภาพจริงที่เกิดขึ้นของประเทศและการจัดการศึกษา โดยผู้กำหนดนโยบาย/ผู้บริหารจะต้องเข้าใจสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นและสภาพการณ์แข่งขันของประเทศอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงเป็นผู้รู้ทฤษฎีและนำไปใช้ ต่อมาควรเรียนรู้ทิศทางสภาพการณ์ของโลก การจัดการศึกษาของต่างประเทศ/แนวทางการพัฒนาคนในภาคธุรกิจเพื่อให้สามารถพัฒนาผู้เรียนได้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง ท้ายสุดแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาให้สามารถบรรลุได้ตามเป้าหมายคือเด็กไทยทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกนั้น ต้องปรับโครงสร้าง สร้างการเชื่อมโยง ประยุกต์แนวทางทางธุรกิจ และทบทวนสมรรถนะที่ต้องมีในผู้เรียนปัจจุบัน แต่ถึงอย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดนอกเหนือไปจากนโยบาย/แนวทางที่ดี คือ “ศักยภาพครู”ที่จะพัฒนาผู้เรียน (วิชาชีพ / วิชาชีวิต) ให้มีความสามารถ มีประสิทธิภาพ และสามารถต่อยอดความรู้สู่การใช้ชีวิตภายใต้โลกที่เปลี่ยนแปลงได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น